64201_2.jpg (1536×1066)

          ในวันที่ 6 - 7 กันยายน 2564 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ภายใต้ "โครงการพัฒนาการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ Vision Zero และยกระดับการเสริมสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมความปลอดภัยไทยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ประจำปี 2564" ได้รับการสนับสนุนทุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม  จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom ในหลักสูตร "VISION ZERO – Train The Trainers สำหรับผู้สอน" บรรยายโดย คุณนิลวดี เลียงสุนทรสิทธิ์ ที่ปรึกษาพิเศษสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้แทนของสถานประกอบกิจการต้นแบบด้วยการให้ความรู้ และเทคนิคการให้คำปรึกษาแนะนำ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้สอน (พี่เลี้ยง) ในการให้คำปรึกษากับ กลุ่มสถานประกอบกิจการขนาดเล็กที่อยู่ในเครือ หรือในระบบ Supply Chain และกลุ่มสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กในประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน

          กิจกรรมดังกล่าวมีผู้แทนจากสถานประกอบกิจการเข้าร่วมมากกว่า 20 ราย ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน และช่วยให้สถานประกอบกิจการมีสถิติการประสบอุบัติเหตุลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งขยายผลการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยไปสู่สถานประกอบกิจการอื่น ได้มากยิ่งขึ้น

          สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ Vision Zero และยกระดับการเสริมสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมความปลอดภัยไทยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ประจำปี 2564 มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลการพัฒนาและสร้างสถานประกอบกิจการต้นแบบ ซึ่งเป็นสถานประกอบกิจการที่ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน ให้สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติ และพัฒนาองค์กรในด้านความปลอดภัย เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน

          โครงการ ฯ จึงขอประกาศกำหนดการอบรม “หลักสูตร Introduction to Vision Zero และการใช้เครื่องมือการประเมินด้วยกฎทอง 7 ประการ” ในวันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 9.00 - 16.30 น. โดยมีการอบรมออนไลน์ระบบ ZOOM (หลักสูตร 1 วัน)

64196_1.jpg (2022×809)

             สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับการสนับสนุนทุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม  เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ Vision Zero และยกระดับการเสริมสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมความปลอดภัยไทยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ประจำปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้แทนของสถานประกอบกิจการต้นแบบด้วยการให้ความรู้ และเทคนิคการให้คำปรึกษาแนะนำ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้สอน (พี่เลี้ยง) ในการให้คำปรึกษา          

            โครงการ ฯ จึงขอประกาศกำหนดการอบรมพี่เลี้ยงใน “หลักสูตร VISION ZERO – Train The Trainers สำหรับผู้สอน” ในวันที่ 6 - 7 กันยายน 2564 เวลา 9.00 - 16.30 น. โดยมีการอบรมออนไลน์ระบบ ZOOM (หลักสูตร 2 วัน)

64167_1_resize.png (3238×1295) 

              สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ Vision Zero และยกระดับการเสริมสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมความปลอดภัยไทยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ประจำปี 2564

              โดยมีกิจกรรมอบรมในหลักสูตร “Introduction to Vision Zero” และ “การใช้เครื่องมือการประเมินด้วยกฎทอง 7 ประการ ทางโครงการฯ ขอประกาศรายชื่อผู้ที่สามารถเข้ารับการอบรม สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่

           สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ Vision Zero และยกระดับการเสริมสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมความปลอดภัยไทยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ประจำปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลการพัฒนาและสร้างสถานประกอบกิจการต้นแบบ รุ่นที่ 3 ที่เป็นสถานประกอบกิจการขนาดย่อม มีจำนวนลูกจ้างน้อยกว่า 200 คน ด้วยการให้ความรู้และการใช้เครื่องมือการประเมินด้วยกฎทอง 7 ประการ ให้สามารถนำความรู้และเครื่องมือไปปรับใช้ในสถานประกอบกิจการของตนเอง เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานยุทธศาสตร์ Vision Zero

          จึงขอประกาศรายชื่อสถานประกอบกิจการที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ดังนี้

           สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาการเรียนรู้ยุทธศาสตร์ Vision Zero และยกระดับการเสริมสร้างมาตรฐานวัฒนธรรมความปลอดภัยไทยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ประจำปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้แทนของสถานประกอบกิจการต้นแบบ ด้วยการให้ความรู้ และเทคนิคการให้คำปรึกษาแนะนำ ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้สอน ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านVison Zero แก่สถานประกอบกิจการในเครือ Supply Chain หรือประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน

          จึงขอประกาศรายชื่อพี่เลี้ยงที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดความสำเร็จ ดังนี้

64139_2.jpg (2481×3508)

64138_7.jpg (1536×1066)

           วันที่ 14,16,18,21 และ 25 มิถุนายน 2564 รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และคณะบริหารโครงการ Vision Zero เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร Web-based Training Program for Mines and Quarries in Thailand “Developing VISION ZERO for OSH – Prevention” โดยได้รับความร่วมมือจากสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และ ISSA Mining ร่วมกันจัดกิจกรรมครั้งนี้

          กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร Web-based Training Program for Mines and Quarries in Thailand “Developing VISION ZERO for OSH – Prevention” ได้รับเกียรติจาก Mr. Helmut Ehnes วิทยากรผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักการ VISION ZERO รวมถึงกฎทอง 7 ประการ จาก ISSA Mining และ ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ กรรมการบริหารโครงการ THAILAND VISION ZERO ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการโดย ดร.กฤตยา ศักดิ์อมรสงวน วิศวกรเหมืองแร่ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มวิจัยและพัฒนาการประกอบการ กองวิศวกรรมบริการ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)

          สำหรับกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการด้านแร่ ได้เข้าร่วมการอบรมเพื่อเป็นความรู้ในการนำไปสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันในสถานประกอบกิจการ และลดอัตราการสูญเสียและความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงาน รวมถึงมุ่งมั่นให้เกิดความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน การมีสุขภาพที่ดีปราศจากโรค และความผาสุกของผู้ใช้แรงงาน (Safety Health Wellbeing)

 

64122_1.jpg (1031×1031)

               สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานและนอกงาน เพื่อให้สังคมแรงงานในไทยเกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน โดยใช้ยุทธศาสตร์ Vision Zero เป็นเครื่องมือในการพัฒนาสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ให้เป็นต้นแบบแก่สถานประกอบกิจการอื่นในสังคมไทย

              สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ จึงขอเรียนเชิญสถานประกอบกิจการ (ที่เคยเข้าร่วมโครงการ) สมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อคัดเลือกการรับรางวัล Thailand Vision Zero พ.ศ. 2564  โดยให้สถานประกอบกิจการยื่นใบสมัคร และเอกสารประกอบการพิจารณาเพื่อคัดเลือกเข้ารับรางวัล ภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2564

 

 

           สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ดำเนินโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ภายใต้ยุทธศาสตร์ Vision Zero อย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 โดยมีโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ เป็นสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางโครงการได้ใช้แบบประเมินกฎทอง 7  ประการ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและพัฒนางานความปลอดภัยในสถานศึกษา

          คณะผู้ตรวจประเมินโครงการฯ ได้ตรวจประเมินเพื่อวัดระดับความสำเร็จ พบว่าโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพมีพัฒนาการด้านความปลอดภัยตามยุทธศาสตร์ Vision Zero ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งในขณะนี้คณะผู้ตรวจประเมินได้พิจารณาระดับความสำเร็จ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ Vision Zero และ กฎทอง 7 ประการของสถานศึกษา จึงขอประกาศระดับความสำเร็จของโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ ได้แก่ ระดับพัฒนา

64070_1.jpg (1506×1018)

         วันที่ 22 มีนาคม 2564 ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และนางสาวนิลวดี เลียงสุนทรสิทธิ์ ที่ปรึกษาพิเศษสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ เข้าร่วมการประชุมออนไลน์กับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และได้รับเกียรติจาก Mr. Helmut Ehnes ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักการ Vision Zero รวมถึงกฎทอง 7 ประการ จาก ISSA Mining เข้าร่วมหารือเพื่อแนะนำแนวทางการจัดอบรมหลักสูตร Vision Zero สำหรับสถานประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเหมืองแร่

          ในการประชุมมีหลายประเด็นสำคัญที่หารือและต้องขับเคลื่อน อาทิ ระยะเวลาในการจัดฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม เนื้อหาของหลักสูตร รูปแบบวิธีการฝึกอบรม และวิทยากร เป็นต้น

          สำหรับการประชุมหารือในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างความร่วมมือของหน่วยงานในประเทศระหว่างสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ กับ กพร. และความร่วมมือระหว่างประเทศกับ ISSA Mining ในการหาแนวทางพัฒนาและขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัย โดยมีสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ เป็นศูนย์กลาง (Thailand Vision Zero Center) ที่จะช่วยประสานความร่วมมือ และเป็นที่ปรึกษาในการจัดหลักสูตรอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย โดยใช้ยุทธศาสตร์ Vision Zero เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนา

64070_2.jpg (2364×1774)

64070_3.jpg (2364×1774)

64043_8.jpg (3000×1377)

          วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และคณะบริหารโครงการ Vision Zero เข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อเรื่อง “Introduction to Vision Zero – Improving Safety, Health, and Wellbeing in Mines and Quarries in Thailand” โดยมีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้จัดกิจกรรมสัมมนาในครั้งนี้

          การสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อเรื่อง “Introduction to Vision Zero – Improving Safety, Health, and Wellbeing in Mines and Quarries in Thailand” ได้รับเกียรติจากท่านวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นประธานในการเปิดการสัมมนา และได้รับเกียรติจาก Mr. Helmut Ehnes วิทยากรผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักการ Vision Zero รวมถึงกฎทอง 7 ประการ จาก ISSA Mining มาให้ความรู้

          สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีในการร่วมมือเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ Vision Zero ระหว่าง สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และ ISSA Mining เพื่อเป็นการลดอัตราการสูญเสียและความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงาน และสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน

64032_7.jpg (1478×1108)

         วันที่ 29 มกราคม 2564 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “Vision Zero Proactive Leading Indicators” กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ  ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการโดย คุณนิลวดี เลียงสุนทรสิทธิ์ ที่ปรึกษาพิเศษสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ และมีคณะที่ปรึกษาโครงการ Vision Zero ร่วมออกความเห็นและอภิปราย

         สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Vision Zero Proactive Leading Indicators" ถือเป็นการเรียนรู้และพัฒนาเครื่องมือการตรวจประเมิน ตามหลักการ Vision Zero ระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาโครงการ Vision Zero ให้เป็นระบบ และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัย โดยใช้ยุทธศาสตร์ Vision Zero ในการยกระดับงานความปลอดภัยในสังคมไทยอีกด้วย

64017_2.jpg (1478×1108)

             วันที่ 18 มกราคม 2564 คุณธำรง คุโณปการ ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ดร.สมรัตน์ ยินดีพิธ อุปนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ และ ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ กรรมการคณะบริหารโครงการ Vision Zero ร่วมกันหารือกับ ดร.กฤตยา ศักดิ์อมรสงวน วิศวกรเหมืองแร่ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มวิจัยและพัฒนาการประกอบการ กองวิศวกรรมบริการ ตัวแทนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ร่วมกันหารือความร่วมมือเพื่อพัฒนางานด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
             ทางสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย ฯ มีความยินดีและพร้อมหาแนวทางในการพัฒนางานด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ต่อไป

64017_1.jpg (1478×1108)64017_3.jpg (1478×1108)

64016_1.jpg (11812×4725)

          สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ดำเนินโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ Vision Zero อย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมโครงการ 15 แห่ง โดยทางโครงการได้ใช้ แบบประเมินกฎทอง 7  ประการ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและพัฒนางานความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ กิจกรรมให้คำปรึกษาตามสถานประกอบกิจการ และกิจกรรมตรวจประเมินตามสถานประกอบกิจการร่วมด้วย  ซึ่งจากกิจกรรมที่โครงการฯดำเนินการให้กับสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการพบว่าสถานประกอบกิจการมีพัฒนาการด้านความปลอดภัยตามยุทธศาสตร์ Vision Zero ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

          คณะผู้ตรวจประเมินโครงการฯ ได้เข้าตรวจประเมินเพื่อวัดระดับความสำเร็จ และให้รางวัลแก่สถานประกอบกิจการที่ประสบความสำเร็จในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สถานประกอบกิจการอื่นต่อไป ซึ่งในขณะนี้คณะผู้ตรวจประเมินได้พิจารณา ระดับความสำเร็จ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ Vision Zero และ กฎทอง 7 ประการของสถานประกอบกิจการแล้ว จึงขอประกาศระดับรางวัลให้แก่สถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการตามยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี  2563 ดังต่อไปนี้

64016_2.jpg (2481×3508)

ประกาศผลรางวัล Thailand Vision Zero Award 2020

โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน

สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563

          สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ได้รับการสนับสนุนทุนจากกองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคมเพื่อดำเนินโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 44 แห่ง โดยทางโครงการฯ มีเครื่องมือในการประเมิน คือ แบบประเมินกฎทอง 7  ประการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ กิจกรรมให้คำปรึกษาตามสถานประกอบกิจการ และกิจกรรมตรวจประเมินตามสถานประกอบกิจการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยตามยุทธศาสตร์ Vision Zero ซึ่งจากกิจกรรมที่โครงการฯดำเนินการให้กับสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการพบว่าสถานประกอบกิจการมีพัฒนาการด้านความปลอดภัยตามยุทธศาสตร์ Vision Zero ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

         

คณะผู้ตรวจประเมินโครงการฯ ได้เข้าตรวจประเมินเพื่อวัดระดับความสำเร็จ และให้รางวัลแก่สถานประกอบกิจการที่ประสบความสำเร็จในการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สถานประกอบกิจการอื่นต่อไป ซึ่งในขณะนี้คณะผู้ตรวจประเมินได้พิจารณา ระดับความสำเร็จ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ Vision Zero และ กฎทอง 7 ประการของสถานประกอบกิจการแล้ว จึงขอประกาศระดับรางวัลให้แก่สถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการตามยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี  2563 ดังต่อไปนี้

vzblue1.png (1241×1754)

1 (933×693)

         64092_3.jpg (432×144)

              สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบจัดให้มีการพัฒนาสถานประกอบกิจการไทยขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)  ให้เป็นสถานประกอบกิจการต้นแบบ ด้านความปลอดภัย สุขอนามัย และความผาสุกในการทำงานไปแล้ว  ไม่ต่ำกว่า 70 แห่ง โดยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานและวัฒนธรรมของสถานประกอบกิจการเหล่านั้น ด้วยการใช้แนวทางยุทธศาสตร์ Vision Zero ของสมาคมประกันสังคมนานาชาติ (International Social Security Association, ISSA) รวมถึงการพัฒนาทีมวิทยากร และที่ปรึกษา พร้อมทั้งการจัดอบรมให้ความรู้แก่สถานประกอบกิจการไทย เกี่ยวกับการใช้ยุทธศาสตร์ Vision Zero ด้วยเครื่องมือ 7 Golden Rules, 14 Proactive Leading Indicators และแนวปฏิบัติในการป้องกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยที่โครงการฯ มีเป้าประสงค์เพื่อช่วยพัฒนาสถานประกอบกิจการไทย ให้สามารถยกระดับและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากร พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันได้อย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การลดการประสบอันตรายขั้นรุนแรงและไม่รุนแรงในการทำงาน รวมทั้งการลดจำนวนการเบิกจ่ายเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนได้อย่างมีนัยสำคัญ 

              สถานประกอบกิจการที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 ติดต่อรายละเอียดโครงการได้ที่ 02-8841852 ต่อ 312 ,313  หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

4.jpg (1568×1044)

             วันที่ 15 ตุลาคม 2563 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัย และอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานโครงการ: เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์  Vision Zero โดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์  ผู้จัดการโครงการฯ นำทีมคณะอนุกรรมการพัฒนาส่งเสริมด้านความปลอดภัย สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมเข้าเยี่ยมชมสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการ

            บริษัท กลัฟเท็กซ์ จำกัด โดย คุณเสริมศักดิ์ วงศ์ชัย กรรมการผู้จัดการ และพนักงาน ได้รับเกียรติต้อนรับ คุณสาลี่ สุขเกิด ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาส่งเสริมด้านความปลอดภัย สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม

            คุณเสริมศักดิ์ วงศ์ชัย และคณะทำงานโครงการฯ ได้นำเสนอภาพรวมของบริษัท และพัฒนาการของการดำเนินโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ Vision Zero อีกทั้งนำทีมคณะอนุกรรมการพัฒนาส่งเสริมด้านความปลอดภัย เข้าเยี่ยมชม และรับฟังคำแนะนำ จากคณะอนุกรรมการฯ อีกด้วย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ขอขอบพระคุณคณะอนุกรรมการพัฒนาส่งเสริมด้านความปลอดภัย ที่ร่วมเป็นเกียรติแก่โครงการ และสถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการ ในการให้คำปรึกษาและคำแนะนำในครั้งนี้เพื่อพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

              สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 โดยการนำของ นายวินัย ลัฐิกาวิบูลย์ นายสมชาย สื่อมงคลวงศ์ นางสุมาลี ชนะชาญมงคล นางสาวนิลวดี เลียงสุนทรสิทธิ์ นางเบญจมาศ ทองไข่มุกต์ นางสาวกาญจนา กานต์วิโรจน์ นายสวินทร์ พงษ์เก่า และนายเอกชิชย์ สายัณห์ เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เรื่องยุทธศาสตร์ Vision Zero เข้าร่วมกิจกรรมการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ด้วย

              โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนสำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 มีสถานประกอบกิจการสนใจเข้าร่วมโครงการ กว่า 40 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับสถานประกอบกิจการ ให้มีสถิติการประสบอุบัติเหตุลดลง รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมุ่งสู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท อุตสาหกรรมมิตรเกษตร จำกัด

 

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ยูจิ้น จำกัด

 

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท แอ๊คควาเทคแม๊คซ์คอนเอเชีย จำกัด

 

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท​ โรงพิมพ์นิยมกิจ ​(1994)​ จำกัด

 

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท จีไอเอส กรุ๊ป จำกัด

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 โดยการนำของ รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ นายธำรง คุโณปการ อุปนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และคณะที่ปรึกษา ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เรื่องยุทธศาสตร์ Vision Zero เข้าร่วมกิจกรรมการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ด้วย

โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนสำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 มีสถานประกอบกิจการสนใจเข้าร่วมโครงการ กว่า 40 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับสถานประกอบกิจการ ให้มีสถิติการประสบอุบัติเหตุลดลง รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมุ่งสู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero

vz8-2.jpg (1478×1108)

vz8-1.jpg (1478×1108)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ดูปองท์ นิวทริชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

vz8-3.JPG (2364×1774)

vz8-4.jpg (843×633)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท เอ็น ซี เอช (ประเทศไทย) จำกัด

vz8-5.jpg (952×714)

vz8-5-1.jpg (979×734)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท อลูคอน จำกัด (มหาชน)

vz8-6.jpg (934×700)

vz8-7.jpg (938×704)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซีแมค เจนเนอรัล จำกัด

vz8-8.jpg (997×749)

vz8-9.jpg (642×856)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด

vz8-10.jpg (970×727)

vz8-11.jpg (978×733)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา เอ็ม เอส ซี พีอาร์สอง จำกัด

vz8-12.jpg (991×743)

vz8-13.jpg (1005×754)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซิก้า (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสระบุรี

           สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 โดยการนำของ รศ.ดร.เฉลิมชัย  ชัยกิตติภรณ์นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยนายธำรง คุโณปการปนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และคณะที่ปรึกษา ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เรื่องยุทธศาสตร์ Vision Zero เข้าร่วมกิจรรมการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 ด้วย 

          โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนสำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 มีสถานประกอบกิจการการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ กว่า 40 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับสถานประกอบกิจการ ให้มีสถิติการประสบอุบัติเหตลดลง รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมุ่งสู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero 

101.jpg (577×432)102.jpg (577×432)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนแมนทอล โปรเท็คชั่น จำกัด  

201.jpg (577×432)202.jpg (577×432)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซิก้า (ประเทศไทย) จำกัด (สาขาชลบุรี) 

301.jpg (577×433)302.jpg (726×344)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท โออาร์ซีพรีเมียร์ จำกัด 

401.jpg (577×433)402.jpg (577×432)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด โรงงานข้าวสุพรรณบุรี 

501.jpg (577×433)502.jpg (577×433)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท บีอาร์เอฟโลจิสติคส์ จำกัด (สาขาดุสิต) 

601.jpg (726×344)602.jpg (726×344)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ลักส์มิน จำกัด 

701.jpg (666×375)702.jpg (560×445)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท สยามกลาสอินดัสทรี จำกัด (โรงงานอยุธยา) 

 

               วันที่ 9 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน จัดการอบรมออนไลน์ฟรีอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรพิเศษ “การป้องกัน ควบคุมอันตราย และแนวปฏิบัติในการพิทักษ์ชีวิตสำหรับพนักงาน” (12 Lifesavers for Employees) บรรยายโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ อีกครั้งหนึ่ง

            การอบรมหลักสูตรครั้งนี้ เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากหลักสูตร “การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้บริหาร” (12 Lifesavers for Managers) โดยเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานที่จะต้องดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงาน เพื่อการป้องกัน ควบคุมอันตราย และพิทักษ์ชีวิตของตนเองและของเพื่อนร่วมงาน ประกอบไปด้วยแนวปฏิบัติที่ดี 12 ข้อ ในแนวทางเดียวกับการปฏิบัติของผู้บริหาร ได้แก่  1. รู้ข้อเท็จริง: หลีกเลี่ยงอันตรายถึงชีวิต  2. คิดก่อนทำแล้วจะปลอดภัย  3. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย  4. การทำงานจำเจเป็นประจำ อาจทำให้ตายได้  5. ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย แล้วจะรอด  6. อุปกรณ์ความปลอดภัยช่วยคุ้มครองชีวิต  7. ยานพาหนะ เครื่องจักรยนต์ทั้งหลายมีอันตรายต่อชีวิต  8. อุปกรณ์ที่เสียหาย งานทำความสะอาด งานบำรุงรักษา เป็นอันตรายร้ายแรง  9. อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ถูกไปยุ่งเกี่ยวดัดแปลง อาจทำให้ตายได้  10. ตกจากที่สูงตายได้ อย่าทำงานโดยไม่มีการป้องกันการตก  11. ของตกใส่ แตกหัก หกล้ม เป็นอันตรายต่อชีวิต  12. ระเบิดและไฟเป็นมหันตภัย ต้องมีการควบคุมพิเศษ

            การอบรมหลักสูตรพิเศษครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 157 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 73 แห่ง และมหาวิทยาลัย 11 แห่ง

 

          รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ)