สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 โดยการนำของ รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ นายธำรง คุโณปการ อุปนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และคณะที่ปรึกษา ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เรื่องยุทธศาสตร์ Vision Zero เข้าร่วมกิจกรรมการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ด้วย

โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนสำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 มีสถานประกอบกิจการสนใจเข้าร่วมโครงการ กว่า 40 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับสถานประกอบกิจการ ให้มีสถิติการประสบอุบัติเหตุลดลง รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมุ่งสู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero

vz8-2.jpg (1478×1108)

vz8-1.jpg (1478×1108)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ดูปองท์ นิวทริชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

vz8-3.JPG (2364×1774)

vz8-4.jpg (843×633)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท เอ็น ซี เอช (ประเทศไทย) จำกัด

vz8-5.jpg (952×714)

vz8-5-1.jpg (979×734)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท อลูคอน จำกัด (มหาชน)

vz8-6.jpg (934×700)

vz8-7.jpg (938×704)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซีแมค เจนเนอรัล จำกัด

vz8-8.jpg (997×749)

vz8-9.jpg (642×856)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด

vz8-10.jpg (970×727)

vz8-11.jpg (978×733)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา เอ็ม เอส ซี พีอาร์สอง จำกัด

vz8-12.jpg (991×743)

vz8-13.jpg (1005×754)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซิก้า (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสระบุรี

           สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 โดยการนำของ รศ.ดร.เฉลิมชัย  ชัยกิตติภรณ์นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยนายธำรง คุโณปการปนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และคณะที่ปรึกษา ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เรื่องยุทธศาสตร์ Vision Zero เข้าร่วมกิจรรมการลงพื้นที่ให้คำปรึกษาครั้งที่ 1 ด้วย 

          โครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนสำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ประจำปี 2563 มีสถานประกอบกิจการการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ กว่า 40 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับสถานประกอบกิจการ ให้มีสถิติการประสบอุบัติเหตลดลง รวมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการมุ่งสู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero 

101.jpg (577×432)102.jpg (577×432)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนแมนทอล โปรเท็คชั่น จำกัด  

201.jpg (577×432)202.jpg (577×432)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ซิก้า (ประเทศไทย) จำกัด (สาขาชลบุรี) 

301.jpg (577×433)302.jpg (726×344)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท โออาร์ซีพรีเมียร์ จำกัด 

401.jpg (577×433)402.jpg (577×432)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด โรงงานข้าวสุพรรณบุรี 

501.jpg (577×433)502.jpg (577×433)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท บีอาร์เอฟโลจิสติคส์ จำกัด (สาขาดุสิต) 

601.jpg (726×344)602.jpg (726×344)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท ลักส์มิน จำกัด 

701.jpg (666×375)702.jpg (560×445)

ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา บริษัท สยามกลาสอินดัสทรี จำกัด (โรงงานอยุธยา) 

 

               วันที่ 9 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน จัดการอบรมออนไลน์ฟรีอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรพิเศษ “การป้องกัน ควบคุมอันตราย และแนวปฏิบัติในการพิทักษ์ชีวิตสำหรับพนักงาน” (12 Lifesavers for Employees) บรรยายโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ อีกครั้งหนึ่ง

            การอบรมหลักสูตรครั้งนี้ เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากหลักสูตร “การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้บริหาร” (12 Lifesavers for Managers) โดยเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานที่จะต้องดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงาน เพื่อการป้องกัน ควบคุมอันตราย และพิทักษ์ชีวิตของตนเองและของเพื่อนร่วมงาน ประกอบไปด้วยแนวปฏิบัติที่ดี 12 ข้อ ในแนวทางเดียวกับการปฏิบัติของผู้บริหาร ได้แก่  1. รู้ข้อเท็จริง: หลีกเลี่ยงอันตรายถึงชีวิต  2. คิดก่อนทำแล้วจะปลอดภัย  3. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย  4. การทำงานจำเจเป็นประจำ อาจทำให้ตายได้  5. ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย แล้วจะรอด  6. อุปกรณ์ความปลอดภัยช่วยคุ้มครองชีวิต  7. ยานพาหนะ เครื่องจักรยนต์ทั้งหลายมีอันตรายต่อชีวิต  8. อุปกรณ์ที่เสียหาย งานทำความสะอาด งานบำรุงรักษา เป็นอันตรายร้ายแรง  9. อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ถูกไปยุ่งเกี่ยวดัดแปลง อาจทำให้ตายได้  10. ตกจากที่สูงตายได้ อย่าทำงานโดยไม่มีการป้องกันการตก  11. ของตกใส่ แตกหัก หกล้ม เป็นอันตรายต่อชีวิต  12. ระเบิดและไฟเป็นมหันตภัย ต้องมีการควบคุมพิเศษ

            การอบรมหลักสูตรพิเศษครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 157 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 73 แห่ง และมหาวิทยาลัย 11 แห่ง

 

          รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ)

วันที่ 2 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน จัดการอบรมแบบออนไลน์ฟรี อีกหลักสูตรหนึ่ง คือ “การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้บริหาร” (12 Lifesavers for Managers) และบรรยายโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์

การอบรมหลักสูตรครั้งนี้ สืบเนื่องจากการอบรมก่อนหน้านี้ ในเรื่องของ“วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” และ“การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันด้วยกฎทอง 7 ประการ” (7 Golden Rules ) ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารที่จะต้องดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงานตามหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero และกฎทอง 7 ประการ เพื่อป้องกัน ควบคุมอันตราย และพิทักษ์ชีวิตของพนักงานทุกคน โดยมีสาระสำคัญที่เป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร 12 เรื่อง ดังนี้ คือ 1. รู้ข้อเท็จจริง: หลีกเลี่ยงอันตรายถึงชีวิต  2. ความเสี่ยง: ชี้บ่ง จัดการและรักษาชีวิต   3. ทำตัวเป็นต้นแบบ: เห็นแล้วทำให้ดู  4. ทำอยู่เป็นประจำ มีประสบการณ์สูงยังอาจตายได้  5. งานที่ปลอดภัย: กำหนดให้ชัด จัดการสอน ตรวจให้แน่ 6. อุปกรณ์ความปลอดภัยจำเป็นต่อชีวิต 7. ยานพาหนะ เครื่องจักรยนต์ทั้งหลายอันตรายต่อชีวิต  8. อุปกรณ์ที่เสียหาย: เป็นอันตรายร้ายแรง  9. ทำให้แน่ว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยยังทำงานอยู่ 10. ตกจากที่สูงตายได้: จงป้องกันอย่าให้เกิด 11. ของตกใส่ แตกหัก หกล้ม เป็นอันตรายต่อชีวิต และ 12. ระเบิดและไฟเป็นมหัตภัย ต้องมีการควบคุม

ในหลักสูตรพิเศษครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 124 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 80 แห่ง และจากสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย 13 แห่ง

รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ) 

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.00 - 12.00 น. ต่อเนื่องจาก การอบรมออนไลน์ฟรีในหลักสูตรพิเศษเรื่อง “วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ได้จัดกิจกรรมอบรมออนไลน์ฟรีอีกครั้งหนึ่งในหลักสูตรเรื่อง “การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันด้วยกฎทอง 7 ประการ” (7 Golden Rules ) โดยมี ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ และผู้จัดการโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนฯ เป็นวิทยากรดำเนินการบรรยาย

          ในหลักสูตรนี้ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันด้วยหลักการของ “กฎทอง 7 ประการ (7 Golden Rules)” ได้แก่ กฎข้อที่ 1. มีความเป็นผู้นำ - แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น  กฎข้อที่ 2. ชี้บ่งอันตราย - ควบคุมความเสี่ยง  กฎข้อที่ 3. การกำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงาน  กฎข้อที่ 4. มีระบบการจัดการความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย –  มีการจัดการองค์กรที่เหมาะสม  กฎข้อที่ 5. จัดให้เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย  กฎข้อที่ 6. ปรับปรุงคุณวุฒิ/คุณสมบัติ – พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร  กฎข้อที่ 7. สนับสนุนบุคลากร - สร้างแรงจูงใจโดยการให้ทุกคนมีส่วนร่วม

มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรพิเศษนี้ทั้งหมด 118 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 81 แห่ง และสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย 14 แห่ง

รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ) 

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ร่วมกับมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดกิจกรรมอบรมแบบออนไลน์ฟรีในหลักสูตรพิเศษเรื่อง “วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” บรรยายโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคม

 

 

          การอบรมครั้งนี้เน้นในเรื่องของการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันโดยอาศัยภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งการกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วม และการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องทั้งสามด้านคือ ด้านความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย และด้านความผาสุกในการทำงาน โดยยึดความเชื่อในหลักการที่สำคัญ 4 ประการของความเป็นมนุษย์ คือ  1. ชีวิตของคนเป็นเรื่องที่ต่อรองไม่ได้ 2. ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาดได้เสมอ  3. ความสามารถในการทนทานต่อแรงกดดันทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ และ 4. การป้องกันควรต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด

          ในการอบรมหลักสูตรพิเศษครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 162 ท่าน เป็นบุคลากรจากสถานประกอบกิจการ 81 แห่ง และจากสถาบันการศึกษารวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 14 แห่ง เมื่อผ่านการทำแบบทดสอบแล้วผู้เข้าอบรมสามารถได้รับ e-certificate อีกด้วย

รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ) 

วันที่ 1 พฤศจิกายน2562 เวลา13.30 น. รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย นายธำรง คุโณปการ อุปนายก และคณะที่ปรึกษา เข้าร่วมกิจกรรมพบปะเชิญชวนสถานประกอบกิจการเข้าร่วมโครงการ : เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ภายในงานมีสถานประกอบกิจการที่สนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 40 แห่ง เพื่อร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้ยั่งยืน

 

       วันที่ 29 สิงหาคม 2562 รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์  นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ และ นายธำรง คุโณปการ อุปนายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ร่วมงาน Chulasafety2019  “ร้อยรักความปลอดภัย ร้อยใจชาวจุฬา” และได้ร่วมจัดนิทรรศการและปาฐกถาในหัวข้อ vision zero วิสัยทัศน์ความปลอดภัยสู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน  ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

       วันที่ 6 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมฯ คณะกรรมการบริหาร คณะที่ปรึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ร่วมจัดงาน "วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน" เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้สถานศึกษาสายวิชาชีพและสถานประกอบกิจการทั่วประเทศ สร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยเชิงป้องกัน สู่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความผาสุกที่ยั่งยืน

      โดยภายในงานมีกิจกรรมดังนี้

  • พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ Thailand Vision Zero Award 2019 แก่สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามแนวทาง Vision zero ประจำปี 2562 ในการพัฒนางานความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ทั้ง 35 แห่ง 
  • การปาฐกถาในหัวข้อ "วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน" โดย ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาสมาคมฯ

  • กิจกรรมระดมสมองในรูปแบบวิทยากรกระบวนการจากทีมงานสถาบันพระปกเกล้า พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อม และโรคจากการทำงาน อาทิ รัฐสภาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

 

รายชื่อสถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามแนวทาง Vision zero ประจำปี 2562

1.รางวัลความมุ่งมั่น สู่ Thailand Vision Zero (Thailand Vision Zero Commitment Award)

  • โรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
  • บริษัท บางกอกแคนแมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • บริษัท ฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด
  • บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) สาขาคลังน้ำมันไออาร์พีซี พระประแดง 

2.รางวัลความสำเร็จ สู่ Thailand Vision Zero ระดับพัฒนา (Achievement Award Level 1)

  • บริษัท เคจี เลิศพันธ์ จำกัด
  • บริษัท ไดซิน จำกัด
  • บริษัท ปัญจพลไฟเบอร์คอนเทนเนอร์ จำกัด
  • บริษัท พรีไซซ อิเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • บริษัท พรีไซซ อีเลคโทร-แมคคานิเคิล เวอร์คส์ จำกัด
  • บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สยามแลนด์ ฟลายอิ้ง จำกัด
  • บริษัท เอช.ไอ.เอ็ม.เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

3.รางวัลความสำเร็จ สู่ Thailand Vision Zero ระดับก้าวหน้า (Achievement Award Level 2)

  • บริษัท กรีนสวิลล์ จำกัด สำนักงานใหญ่
  • บริษัท กรีนสวิลล์ จำกัด สุวินทวงศ์
  • บริษัท จรูญรัตน์ โปรดักส์ จำกัด
  • บริษัท โชคชัย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
  • บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เทคโนแฟบ (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ไทยน้ำทิพย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
  • บริษัท บีบี เทคโนโลยี จำกัด สาขาอยุธยา
  • บริษัท ฟูจิ อิเลคทริค แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท สยามกลาสอินดัสทรี จำกัด
  • บริษัท อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เอเซีย แปซิฟิค ปิโตรเคมิคอล จำกัด
  • บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
  • บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) สาขามีนบุรี
  • บริษัท โอสถสภา เบฟเวอเรจ จำกัด

4.รางวัลความสำเร็จ สู่ Thailand Vision Zero ระดับสมบูรณ์ (Achievement Award Level 3)

  • บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานเทพารักษ์
  • บริษัท ไทย เอเวชั่น เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด
  • บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขาที่5
  • บริษัท วิศวกิจพัฒนา จำกัด
  • บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน)

 

 

 

 

 

 

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสมาคมฯ  เข้าร่วมจัดสัมมนาวิชาการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระหว่างประเทศ “Dialogue Forum on “Safety Culture” ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร  โดยมี พลเอก อภิชาต แสงรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดงานสัมมนานี้ขึ้น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยกับนานาประเทศที่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมแรงงาน ส่งเสริมกิจกรรมเ ครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ

 

 

รมว.แรงงาน ให้การต้อนรับ Dr. Joachim Breuer ประธานสมาคมการประกันสังคมระหว่างประเทศ (ISSA) หารือยุทธศาสตร์ Vision Zero ย้ำ ไทยพร้อมให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เพื่อประโยชน์ของแรงงานไทยทุกคน

     วันที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 09.30 น. พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ Dr. Joachim Breuer ประธานสมาคมการประกันสังคมระหว่างประเทศ (ISSA) และ ดร.ชัยยุทธ  ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ที่มาเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการด้านแรงงาน ณ ห้องรับรอง VIP บริเวณห้องแกรนด์ฮอลล์ 201 – 203 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดย รมว.แรงงาน กล่าวว่า การหารือในวันนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์ Vision Zero หรือยุทธศาสตร์โลกเพื่อการเสริมสร้างความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน ที่สมาคมการประกันสังคมระหว่างประเทศ ได้ริเริ่มยุทธศาสตร์ Vision Zero ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงการสร้างเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การป้องกันอุบัติเหตุอันตรายและการเสียชีวิตจากการทำงาน รวมถึงสร้างเสริมสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพอนามัยในทุกประเภทกิจการ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านประกันสังคมระหว่างสมาคมการประกันสังคมระหว่างประเทศและกระทรวงแรงงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบ เป็นต้น 

ภาพและข่าว : กระทรวงแรงงาน

 

 

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคม และคณะผู้บริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินตามหลักของ กฎทอง 7 ประการ รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการ “พัฒนาสถานประกอบกิจการต้นแบบ Thailand Vision Zero - สู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561  ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคม และคณะผู้บริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินตามหลักของ กฎทอง 7 ประการ ภายใต้โครงการ “พัฒนาสถานประกอบกิจการต้นแบบ Thailand Vision Zero - สู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน”  รุ่นที่ 1  ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคม และคณะผู้บริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้กำหนดจัดสัมมนาและชี้แจงโครงการ “พัฒนาสถานประกอบกิจการต้นแบบ Thailand Vision Zero"สู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน” “Towards Sustainable Safety Culture of Prevention” ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 3 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

 

 

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561 ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคม และคณะผู้บริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้กำหนดจัดสัมมนาและชี้แจงโครงการ “พัฒนาสถานประกอบกิจการต้นแบบ Thailand Vision Zero"สู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน” “Towards Sustainable Safety Culture of Prevention” ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 3 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

     เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคม และคณะผู้บริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้กำหนดจัดสัมมนาและชี้แจงโครงการ “พัฒนาสถานประกอบกิจการต้นแบบ Thailand Vision Zero สู่วัฒนธรรมเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน” “Towards Sustainable Safety Culture of Prevention” ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 3 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

ทำไมต้องเข้าสัมมนาและ workshop   “Seven  Golden   Rules  to  Implement  the Vision Zero Strategy”  ?

  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์การป้องกันอุบัติเหตุกับผู้สอนซึ่งเป็นชาวเยอรมัน (บรรยายอังกฤษ-แปลไทย) ที่มีประสบการณ์จากการทำงานด้านความปลอดภัยโดยตรง
  • Seven  Golden   Rules  ได้รับการออกแบบและได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับทุกประเภทกิจการในหลายๆ บริษัทเพื่อการลดอุบัติเหตุในเชิงป้องกัน
  • Seven  Golden   Rules  คือเครื่องมือนำไปสู่กลยุทธ์การลดอุบัติเหตุโดยรวมขององค์กร
  • ISSA  เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้รับความเชื่อถือในด้านความปลอดภัยมีสมาชิกมากกว่า 150 ประเทศ มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  (ดูข้อมูล  www.issa.int/en_GB/contact)

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) โดย ดร. ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคม, รศ. ดร. เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์อุปนายก, ดร. ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการ ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ISSA Mining Strategy Workshop ครั้งที่ 2 และการประชุมใหญ่สามัญ (General Assembly) ของ ISSA Mining Section ครั้งที่ 34 โดยมี Mr. Ulrich Meesmann, ISSA Mining President เป็นประธานการประชุม, วันที่ 11 กันยายน 2560 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ

         สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย) และ ISSA Mining จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "มุ่งสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันแบบยั่งยืนด้วยยุทธศาสตร์ VISION ZERO / Towards Sustainable Safety Culture of Prevention - The Vision Zero Strategy, Workshop" โดย ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล นายกสมาคมฯ  กล่าวเปิดการสัมมนาและอภิปราย เรื่อง "มุ่งสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันแบบยั่งยืนด้วยยุทธศาสตร์ VISION ZERO"  ต่อด้วยการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "The Beginning and Success Stories of Vision Zero Strategy and 7 Golden Rules" โดย Mr. Helmut Ehnes, Secretary General ISSA Mining Division  จาก ISSA (International Social Security Association) และเข้มข้นกับการบรรยาย "กฎทอง 7 ประการ (Seven Golden Rules) เครื่องมือการบริหารสำหรับสถานประกอบกิจการไทย" โดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์   อุปนายกสมาคมฯ  ควบคู่กับการ Workshop : วิธีการประเมินตนเองด้วยกฎทอง 7 ประการ โดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และ ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการสมาคมฯ ปิดท้ายด้วยการเสวนา เรื่อง เราจะพัฒนากลยุทธ์ Vision Zero ให้สอดคล้องกับนโยบาย Safety Thailand ได้อย่างไร โดย  ดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล, รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และ Mr. Helmut Ehnes ณ ห้องแกรนด์รัชดา โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) และสถานประกอบกิจการชั้นนำ  ร่วมลงนามความร่วมมือและอบรมเชิงปฏิบัติการ "Vision Zero and Seven Golden Rules"  เพื่อพัฒนาไปสู่การลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน จนไปสู่ความเป็นศูนย์ด้วยภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยมีท่าน ศาสตราจารย์ศิริ เกวลินสฤษดิ์ เป็นประธาน ที่ โรงแรม SD Avenue  กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560

สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย) และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งมั่นพัฒนา "วัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน" Vision Zero Strategy เพื่อให้คนทำงานไทยปลอดภัย

"VISION ZERO"
     อุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน มิได้เกิดขึ้นจากโชคชะตา และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้....หากแต่สิ่งเหล่านี้มีสาเหตุของการเกิดขึ้นเสมอ การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกัน จะทำให้สาเหตุทั้งหลายถูกขจัด และอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ อันตรายและโรคจากการทำงานได้รับการป้องกัน

     "VISION ZERO" เป็นการปรับเปลี่ยนแนวทางในการป้องกันการเกิดอันตรายจากงาน โดยการนำมิติทางด้าน ความปลอดภัย สุขภาพ และความผาสุก มาบูรณาการเพื่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานในสถานประกอบการทุกระดับ

ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2560 ณ อาคารธาราเทพ ฮอล์ล โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษา เป็นการประชุมนานาชาติ ร่วมกับสมาชิกในโครงการ Vision Zero ที่จะมาจากประเทศต่างๆ ในยุโรปและประเทศอื่นๆ ประมาณ 50 คน