วันที่ 9 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน จัดการอบรมออนไลน์ฟรีอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรพิเศษ “การป้องกัน ควบคุมอันตราย และแนวปฏิบัติในการพิทักษ์ชีวิตสำหรับพนักงาน” (12 Lifesavers for Employees) บรรยายโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ อีกครั้งหนึ่ง

            การอบรมหลักสูตรครั้งนี้ เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากหลักสูตร “การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้บริหาร” (12 Lifesavers for Managers) โดยเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานที่จะต้องดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงาน เพื่อการป้องกัน ควบคุมอันตราย และพิทักษ์ชีวิตของตนเองและของเพื่อนร่วมงาน ประกอบไปด้วยแนวปฏิบัติที่ดี 12 ข้อ ในแนวทางเดียวกับการปฏิบัติของผู้บริหาร ได้แก่  1. รู้ข้อเท็จริง: หลีกเลี่ยงอันตรายถึงชีวิต  2. คิดก่อนทำแล้วจะปลอดภัย  3. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย  4. การทำงานจำเจเป็นประจำ อาจทำให้ตายได้  5. ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย แล้วจะรอด  6. อุปกรณ์ความปลอดภัยช่วยคุ้มครองชีวิต  7. ยานพาหนะ เครื่องจักรยนต์ทั้งหลายมีอันตรายต่อชีวิต  8. อุปกรณ์ที่เสียหาย งานทำความสะอาด งานบำรุงรักษา เป็นอันตรายร้ายแรง  9. อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ถูกไปยุ่งเกี่ยวดัดแปลง อาจทำให้ตายได้  10. ตกจากที่สูงตายได้ อย่าทำงานโดยไม่มีการป้องกันการตก  11. ของตกใส่ แตกหัก หกล้ม เป็นอันตรายต่อชีวิต  12. ระเบิดและไฟเป็นมหันตภัย ต้องมีการควบคุมพิเศษ

            การอบรมหลักสูตรพิเศษครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 157 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 73 แห่ง และมหาวิทยาลัย 11 แห่ง

 

          รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ)

วันที่ 2 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน จัดการอบรมแบบออนไลน์ฟรี อีกหลักสูตรหนึ่ง คือ “การเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับผู้บริหาร” (12 Lifesavers for Managers) และบรรยายโดย ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์

การอบรมหลักสูตรครั้งนี้ สืบเนื่องจากการอบรมก่อนหน้านี้ ในเรื่องของ“วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” และ“การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันด้วยกฎทอง 7 ประการ” (7 Golden Rules ) ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารที่จะต้องดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงานตามหลักการของยุทธศาสตร์ Vision Zero และกฎทอง 7 ประการ เพื่อป้องกัน ควบคุมอันตราย และพิทักษ์ชีวิตของพนักงานทุกคน โดยมีสาระสำคัญที่เป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้บริหาร 12 เรื่อง ดังนี้ คือ 1. รู้ข้อเท็จจริง: หลีกเลี่ยงอันตรายถึงชีวิต  2. ความเสี่ยง: ชี้บ่ง จัดการและรักษาชีวิต   3. ทำตัวเป็นต้นแบบ: เห็นแล้วทำให้ดู  4. ทำอยู่เป็นประจำ มีประสบการณ์สูงยังอาจตายได้  5. งานที่ปลอดภัย: กำหนดให้ชัด จัดการสอน ตรวจให้แน่ 6. อุปกรณ์ความปลอดภัยจำเป็นต่อชีวิต 7. ยานพาหนะ เครื่องจักรยนต์ทั้งหลายอันตรายต่อชีวิต  8. อุปกรณ์ที่เสียหาย: เป็นอันตรายร้ายแรง  9. ทำให้แน่ว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยยังทำงานอยู่ 10. ตกจากที่สูงตายได้: จงป้องกันอย่าให้เกิด 11. ของตกใส่ แตกหัก หกล้ม เป็นอันตรายต่อชีวิต และ 12. ระเบิดและไฟเป็นมหัตภัย ต้องมีการควบคุม

ในหลักสูตรพิเศษครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 124 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 80 แห่ง และจากสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย 13 แห่ง

รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ) 

วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.00 - 12.00 น. ต่อเนื่องจาก การอบรมออนไลน์ฟรีในหลักสูตรพิเศษเรื่อง “วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ได้จัดกิจกรรมอบรมออนไลน์ฟรีอีกครั้งหนึ่งในหลักสูตรเรื่อง “การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันด้วยกฎทอง 7 ประการ” (7 Golden Rules ) โดยมี ดร.ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ และผู้จัดการโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืนฯ เป็นวิทยากรดำเนินการบรรยาย

          ในหลักสูตรนี้ ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันด้วยหลักการของ “กฎทอง 7 ประการ (7 Golden Rules)” ได้แก่ กฎข้อที่ 1. มีความเป็นผู้นำ - แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น  กฎข้อที่ 2. ชี้บ่งอันตราย - ควบคุมความเสี่ยง  กฎข้อที่ 3. การกำหนดเป้าหมายและพัฒนาแผนงาน  กฎข้อที่ 4. มีระบบการจัดการความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย –  มีการจัดการองค์กรที่เหมาะสม  กฎข้อที่ 5. จัดให้เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงานมีความปลอดภัยและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย  กฎข้อที่ 6. ปรับปรุงคุณวุฒิ/คุณสมบัติ – พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร  กฎข้อที่ 7. สนับสนุนบุคลากร - สร้างแรงจูงใจโดยการให้ทุกคนมีส่วนร่วม

มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรพิเศษนี้ทั้งหมด 118 คน มาจากสถานประกอบกิจการ 81 แห่ง และสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย 14 แห่ง

รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ) 

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.30 - 16.30 น. สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนางานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และวิเทศสัมพันธ์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยยุทธศาสตร์ Vision Zero ร่วมกับมูลนิธิเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน โดยการจัดกิจกรรมอบรมแบบออนไลน์ฟรีในหลักสูตรพิเศษเรื่อง “วิสัยทัศน์ความปลอดภัย สู่คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” บรรยายโดย รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยฯ และดร.ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคม

 

 

          การอบรมครั้งนี้เน้นในเรื่องของการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยเชิงป้องกันโดยอาศัยภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งการกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรมีส่วนร่วม และการบูรณาการงานที่เกี่ยวข้องทั้งสามด้านคือ ด้านความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย และด้านความผาสุกในการทำงาน โดยยึดความเชื่อในหลักการที่สำคัญ 4 ประการของความเป็นมนุษย์ คือ  1. ชีวิตของคนเป็นเรื่องที่ต่อรองไม่ได้ 2. ทุกคนมีโอกาสทำผิดพลาดได้เสมอ  3. ความสามารถในการทนทานต่อแรงกดดันทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ และ 4. การป้องกันควรต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด

          ในการอบรมหลักสูตรพิเศษครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 162 ท่าน เป็นบุคลากรจากสถานประกอบกิจการ 81 แห่ง และจากสถาบันการศึกษารวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 14 แห่ง เมื่อผ่านการทำแบบทดสอบแล้วผู้เข้าอบรมสามารถได้รับ e-certificate อีกด้วย

รายงานโดย ธนภรณ์ ทะศรีแก้ว (เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการฯ) 

Search

Calendar

« April 2024 »
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30